 |
บันทึกกิจกรรม สงขลา 3 |
 |
"ทีม ศน. สพป.สงขลา เขต 3" นิเทศ ติดตาม สังเกตชั้นเรียน การจัดการเรียนรู้ Active Learning และติดตามการนำกรอบหลักสูตรท้องถิ่น ลงสู่ชั้นเรียน
วันที่ 14 มิถุนายน 2566 เวลา 13.00 น. นายศังกร รักชูชื่น ผอ.สพป.สงขลา เขต 3 มอบหมายให้ นางสาวสุพรรษา หมัดจรูญ นางรัตนา ซุ้นจ้าย นางมาลีณีย์ ขรีดาโอ๊ะ นายสมพงษ์ นันทโย และนางสาวอลีนา หลีเด ศึกษานิเทศก์ สพป.สงขลา เขต 3 นิเทศ ติดตาม และสังเกตชั้นเรียน การจัดการเรียนรู้ Active Learning และติดตามการนำกรอบหลักสูตรท้องถิ่น ลงสู่ชั้นเรียน โรงเรียนในอำเภอสะเดา จำนวน 2 โรง คือ 1. โรงเรียนบ้านหัวถนน จากการสังเกตชั้นเรียน ใน 5 ห้องเรียน พบว่าโดยภาพรวม คุณครูมีความตั้งใจ ในการจัดการเรียนรู้ เอาใจใส่นักเรียนในขั้นได้อย่างดี ในบางรายวิชาเช่นคณิตศาสตร์มีการ สุ่มนักเรียนให้ออกมาแสดงวิธีหาคำตอบ หน้าชั้นเรียน มีการเสริมแรงให้กำลังใจ และการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม คณะนิเทศ ได้ให้ข้อเสนอแนะในเรื่อง การแบ่งเวลาในการจัดการเรียนรู้ ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป ขั้นวัดและประเมินผล และการใช้สื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ และกิจกรรม ที่เปิดโอกาศให้ผู้เรียนได้คิด ค้นหาคำตอบ เกิดการเรียนรู้ และนำเสนอ แลกเปลี่ยนในชั้นเรียน เพื่อเพิ่มทักษะ การสื่อสาร เกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง นอกจากนี้ ได้แนะนำเรื่องการใช้แหล่งเรียนรู้ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ตัวชี้วัด กับแหล่งเรียนรู้ เพืีอพัฒนาสมรรถนะและทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยโรงเรียนบ้านหัวถนน ใช้ "ทวดหลัก " เป็นแหล่งเรียนรู้
2.โรงเรียนบ้านควนเสม็ด จากการนิเทศ ติดตาม และสังเกตชั้นเรียน 5 ห้องเรียน พบว่า ครูมีความตั้งใจในการจัดการเรียนรู้ ลักษณะการจัดการเรียนรู้ แตกต่างกันตามบริบทของเนื้อหา บางรายวิชา มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม ฝึกคิด ลงมือปฏิบัติ โดยใช้สื่อการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างมีความสุข บางรายวิชาลักษณะยังเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ครูยังเป็นศูนย์กลาง ทีมนิเทศ ได้ ให้ข้อเสนอแนะ ในเรื่องการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียนผ่านกิจกรรม โดยใช้สื่อ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของผู้เรียน
ในด้านการบูรณาการตัวชี้วัดกับแหล่งเรียนรู้ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนบ้านควนเสม็ด ได้ดำเนินการในเรื่อง การใช้แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น 3 อย่าง มาอย่างต่อเนื่อง
คือ
1. แหล่งเรียนรู้ "ควนแม่เหม็ด "
2. การทำฝายชลอน้ำ
3. การทำข้าวหลามชักพลุด ซึ่งเป็นภูมิปัญญา ของชาวบ้านควนเสม็ดที่ตกทอดและเป็น หนึ่งเดียวที่ใช้ใบยี่เร็ด ซึ่งเป็นพืชที่ขึ้นบนควนแม่เหม็ด มาทำเป็นข้างหลาม ทีมนิเทศได้ให้ข้อเสนอแนะในเรื่องการขยายผลการใช้แหล่งเรียนรู้ จัดการเรียนรู้โดยแบ่งหน่วยการเรียนรู้ ตามความยากง่ายของเนื้อหาในแต่ละช่วงชั้น เพืีอให้การจัดกิจกรรมบูรณาการตัวชี้วัดกับแหล่งเรียนรู้หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับผู้เรียนตามบริบท |
โพสเมื่อ :
14 มิ.ย. 2566,20:37
อ่าน 288 ครั้ง
|