 |
บันทึกกิจกรรม สงขลา 3 |
 |
นิเทศ ติดตามการจัดการเรียนการสอนโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา
วันที่ 31 มกราคม 2567 นายศังกร รักชูชื่น ผอ.สพป.สงขลา เขต 3 มอบหมายให้นางรัตนา ซุ้นจ้าย พร้อมด้วยนางสาวสุพรรษา หมัดจรูญ และนางสาวอลีนา หลีเด ศึกษานิเทศก์ สพป.สงขลา เขต 3 ลงพื้นที่นิเทศ ติดตามการจัดการเรียนการสอนของครู ตามแนวโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา ได้แก่โรงเรียนบ้านควนเจดีย์ อำเภอเทพา และ โรงเรียนบ้านทุ่งไพล อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา
โรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ผลการนิเทศพบว่า ครูได้จัดกระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์โดยบูรณาการกับตัวชี้วัดรายวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และได้ร่วมสังเกตชั้นเรียน พบว่า ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วมของนักเรียน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กิจกรรมการทดลองเรื่องการได้รับกลิ่น ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กิจกรรมการทดลองเรื่องเปียกและเย็นและ ครูมีการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และแนะนำสื่อ อุปกรณ์ ก่อนการทำกิจกรรมการทดลอง มีการตั้งกฎกติกา ครูมีการส่งเสริมสนับสนุนการตั้งสมมติฐานก่อนการทดลอง เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง มีการมอบหมายให้ทำงานกลุ่ม เปิดโอกาสให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในกลุ่ม ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ครบทั้ง 3 ขั้นตอน คือ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้และขั้นสรุป/วัดประเมินผล ครูมีการเสริมแรงเมื่อนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมได้ดีและกระตุ้นความสนใจเรียนของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
โรงเรียนบ้านทุ่งไพล ผลการนิเทศพบว่า ครูได้จัดกระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์โดยบูรณาการกับตัวชี้วัดรายวิชาวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ได้ร่วมสังเกตชั้นเรียนพบว่า ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วมของนักเรียน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กิจกรรมการทดลองเรื่องทุ่น ก่อนการทำกิจกรรม ครูมีการตั้งคำถามเพื่อเชื่อมโยงจากประสบการณ์เดิมของนักเรียน ให้นักเรียนออกแบบและเลือกใช้วัสดุในการทำทุ่นของกลุ่มตัวเองภายใต้จุดประสงค์ที่ครูตั้งไว้ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง นักเรียนมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในกลุ่ม ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้และขั้นสรุปครูมีการเสริมแรงเมื่อนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมได้ดีและกระตุ้นความสนใจเรียนของนักเรียนอย่างต่อเนื่องและได้เพิ่มเติมในเรื่องของการนำเสนอผลงานของตัวเอง
ขอเสนอแนะเพิ่มเติมในเรื่องของการจัดทำรายงานกิจกรรม 8 กิจกรรม และวัฏจักรการสืบเสาะ 6 ขั้นตอนได้แก่ 1) ตั้งคำถามเกี่ยวกับ 2) รวบรวมความคิดและข้อสันนิษฐาน 3) ทดสอบและปฏิบัติการสืบเสาะ 4) สังเกตและบรรยาย 5) บันทึกข้อมูล 6) อภิปรายผล เพื่อเป็นแนวทางในการขอรับตราพระราชทานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ระดับประถมศึกษา |
โพสเมื่อ :
31 ม.ค. 2567,18:06
อ่าน 183 ครั้ง
|