บันทึกกิจกรรม สงขลา 3
ร่วมโครงการพัฒนาศึกษานิเทศก์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
วันที่ 12-16 พฤษภาคม 2567 นายศังกร รักชูชื่น ผอ.สพป.สงขลา เขต 3 มอบหมายให้นางสาวอลีนา​ หลีเด​ ศึกษานิเทศก์ สพป.สงขลา เขต 3 เข้าร่วมพัฒนาโครงการพัฒนาศึกษานิเทศก์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยนายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาศึกษานิเทศก์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พร้อมด้วย นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นผู้กล่าวรายงาน ​​สืบเนื่องจากนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มุ่งหวังให้ผู้เรียน “เรียนดี มีความสุข” เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ภายใต้การทำงานที่เกิดจากความร่วมมือกัน ทั้งผู้บริหาร ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนผู้ปกครองและชุมชนให้สามารถขับเคลื่อนผลักดันการศึกษาให้ก้าวหน้าสืบไป ประกอบกับนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 - 2568 ข้อ 10 การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้อ 10.2 พัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ในการนิเทศ และการชี้แนะ (Coaching) ศูนย์บริหารงานการพัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ จึงเห็นความสำคัญของการพัฒนาศึกษานิเทศก์ ซึ่งถือเป็นบุคลากรที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการให้คำแนะนำ ชี้แนะถึงแนวทาง การจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมผู้เรียนและบริบทของสถานศึกษาแต่ละแห่ง โดยมีเป้าหมายที่คุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ ​จากความสำคัญดังกล่าว ศูนย์บริหารงานการพัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (ศบศ.) จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาศึกษานิเทศก์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ได้จัดทำหลักสูตรและคู่มือศึกษานิเทศก์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งกำหนดการพัฒนาแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ​1. ระยะ Pre - training เรียนผ่านระบบแบบ online ระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 12 พฤษภาคม 2567 โดยทำการศึกษาความรู้ก่อนเข้ารับการอบรมผ่าน Platform สำรวจตนเอง โดยวิเคราะห์ภาระงานที่ได้รับมอบหมาย เป้าหมายในการเป็นศึกษานิเทศก์ ปัญหาที่พบจากการนิเทศและความต้องการในการพัฒนา ​​2. ระยะ On - site training ระหว่างวันที่ 13 - 16 พฤษภาคม 2567 ณ โรงแรมอิงธาร รีสอร์ท จังหวัดนครนายก 3. ระยะ Post - training ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม - 30 กันยายน 2567 ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ปฏิบัติงานโดยมีศึกษานิเทศก์พี่เลี้ยงที่เป็นทั้งข้าราชการบำนาญ และศึกษานิเทศก์ที่ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยแบ่งความรับผิดชอบเป็น cluster เพื่อลงพื้นที่ในการนิเทศ ติดตาม ให้คำชี้แนะ ตลอดการพัฒนา . โดยการประชุมฯ ครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้เข้ารับการพัฒนา เป็นศึกษานิเทศก์ที่ได้รับการแต่งตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.6/ว1 ลงวันที่ 5 มกราคม 2565) จำนวน 443 คน โดยมีวัตถุประสงค์การประชุมเพื่อพัฒนาศึกษานิเทศก์ ให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานตำแหน่งและวิทยฐานะ เพื่อให้ศึกษานิเทศก์สามารถนำความรู้จากการพัฒนาไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาศึกษานิเทศก์ ให้สามารถขับเคลื่อนนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานลงสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างเครือข่ายศึกษานิเทศก์ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ในการนิเทศการศึกษา ช่วยเหลือและให้คำปรึกษา พร้อมชี้แนะแนวทางในการนิเทศการศึกษาได้อย่างเหมาะสมกับบริบทต่อไป . สำหรับกิจกรรมในการประชุมพัฒนาศึกษานิเทศก์ครั้งนี้ มีการมอบนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ โดยผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ศึกษานิเทศก์กับความคาดหวังของ สพฐ. ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดย นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการ กพฐ. ปลุกพลังบวก : Leadership & Growth Mindset From Teacher to Supervisor โดยวิทยากร คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) ชี้แจงข้อกำหนดในการเข้ารับการพัฒนา โดยนางอาทิตยา ปัญญา ผอ. ศบศ. และกิจกรรมอื่นๆ เป็นต้น . สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับจากการประชุมพัฒนาศึกษานิเทศก์ในครั้งนี้ คือ ศึกษานิเทศก์มีสมรรถนะตามมาตรฐานตำแหน่งและวิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ สามารถนิเทศการศึกษา ให้คำแนะนำและชี้แนะครูผู้สอน เพื่อให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับผู้เรียนและบริบทของสถานศึกษาแต่ละแห่ง ศึกษานิเทศก์ สามารถขับเคลื่อนนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานลงสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ ศึกษานิเทศก์ มีเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการศึกษานิเทศก์ ช่วยเหลือและให้คำปรึกษา พร้อมชี้แนะแนวทางในการนิเทศการศึกษาได้อย่างเหมาะสมกับบริบทต่อไป
โพสเมื่อ : 17 พ.ค. 2567,17:34   อ่าน 62 ครั้ง